วันอังคารที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2555

กล้วยไม้


กล้วยไม้ หรือ เอื้อง เป็นพืชดอกที่มีความหลากหลายมากที่สุดกลุ่มหนึ่ง โดยมีประมาณ 880 สกุล และประมาณ 22,000 ชนิดที่มีการยอมรับ(อาจมากกว่า 25,000 ชนิด)[1] คิดเป็น 6–11% ของพืชมีเมล็ด[2] มีการค้นพบราวๆ 800 ชนิดทุกๆปี มีสกุลใหญ่ๆคือ Bulbophyllum (2,000 ชนิด)Epidendrum (1,500 ชนิด)Dendrobium(1,400 ชนิด) และ Pleurothallis (1,000 ชนิด) สายพันธุ์ของกล้วยไม้ที่ขึ้นและเติบโตในป่าเรียกว่า กล้วยไม้ป่า
กล้วยไม้จัดอยู่ในกลุ่มพืชใบเลี้ยงเดี่ยว อยู่ในวงศ์กล้วยไม้ มีลักษณะการเติบโตแบบต่างๆ ได้แก่
  • กล้วยไม้อากาศ คือ กล้วยไม้ที่เกาะอาศัยอยู่บนต้นไม้อื่น โดยมีรากเกาะอยู่กับกิ่งไม้หรือลำต้น
  • กล้วยไม้ดิน คือ กล้วยไม้ที่ขึ้นอยู่ตามพื้นดินที่ปกคลุมด้วยอินทรีย์วัตถุ
  • กล้วยไม้หิน คือ กล้วยไม้ที่ขึ้นตามโขดหิน
การจำแนกวงศ์ย่อยของกล้วยไม้
วงศ์ย่อยต่างๆ ของกล้วยไม้ ได้แก่
    • APOSTASIOIDEAE Rchb. f. เป็นกลุ่มไม้ที่เติบโตบนพื้นดินในป่า มี 2 สกุล คือ Apostasia และ Neuwiedia
    • CYPRIPEDIOIDEAE Lindley เป็นกลุ่มไม้ที่เกิดบนพื้นดิน โขดหิน และบนซากอินทรีย์วัตถุ มี 4 สกุล คือ CypripediumPaphiopedilum (สกุลรองเท้านารี) ,Phragmipedium และ Selenipedium
    • SPIRANTHOIDEAE Dressler ไม่พบกล้วยไม้ไทย และลูกผสมไทยที่เกิดในวงศ์ย่อยนี้
    • ORCHIDOIDEAE ไม่พบในไทย
    • EPIDENDROIDEAE วงศ์ย่อยนี้มีความหลากหลายด้านที่อยู่อาศัย และรูปร่างลักษณะ มีหลายสกุลในวงศ์นี้ที่พบ และนิยมปลูกในประเทศไทย ได้แก่ สกุล Vanillaสกุลต่างๆ ในกลุ่มแคทลียา สกุลหวาย และสกุลสิงโตกลอกตา
    • VANDOIDEAE Endlicher ได้แก่ กลุ่มแวนด้า
การกระจายพันธุ์
พืชในวงศ์กล้วยไม้นั้นสามารถพบได้ทั่วโลก มีถิ่นอาศัยในหลายๆภูมิประเทศยกเว้นทะเลทรายและธารน้ำแข็ง โดยส่วนมากจะพบในเขตร้อนของโลก คือเอเชีย,อเมริกาใต้ และอเมริกากลาง นอกจากนั้นยังพบเหนืออาร์กติก เซอร์เคิลในตอนใต้ของพาทาโกเนียและยังพบบนเกาะแมคควารี ซึ่งใกล้กับทวีปแอนตาร์กติกา
การกระจายพันธุ์โดยสังเขปมีดังนี้:
      • อเมริกาเขตร้อน: 250 - 270 สกุล
      • เอเชียเขตร้อน: 260 - 300 สกุล
      • แอฟริกาเขตร้อน: 230 - 270 สกุล
      • โอเชียเนีย: 50 - 70 สกุล
      • ยุโรปและเอเชียเขตอบอุ่น: 40 - 60 สกุล
      • อเมริกาเหนือ: 20 - 25 สกุล
ประวัติกล้วยไม้
กล้วยไม้เป็นพืชใบเลี้ยงเดี่ยว ในวงศ์ Orchidaceae เป็นไม้ตัดดอกยอดนิยม เนื่องจากมีลักษณะดอกและสีสันลวดลายสวยงาม เป็นไม้ตัดดอกที่มีอายุการใช้งานได้นาน กล้วยไม้เป็นพืชเศรษฐกิจที่มีความสำคัญของไทย เพราะเป็นไม้ส่งออกขายต่างประเทศทำรายได้เข้า ประเทศปีละหลายร้อยล้านบาท มีการปลูกเลี้ยงอย่างครบวงจร ตั้งแต่การผสมเกสร เพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ เลี้ยงลูกกล้ายไม้ เลี้ยงต้นกล้ายไม้จน กระทั่งให้ดอก ตัดดอกบรรจุหีบห่อและส่งออกเอง
แหล่งกำเนิดกล้วยไม้ป่าที่สำคัญของโลกมี 2 แหล่งใหญ่ๆ ด้วยกันคือ ลาตินอเมริกา กับเอเชียแปซิฟิค สำหรับในลาตินอเมริกาเป็น อาณาบริเวณอเมริกากลางติดต่อกับเขตเหนือของอเมริกาใต้ ส่วนแหล่งกำเนิดกล้วยไม้ป่าในภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิค มีประเทศไทยเป็นศูนย์กลาง จากการค้นพบประเทศไทยมีพันธุ์กล้วยไม้ป่าเป็นจำนวนมาก แสดงให้เห็นว่าประเทศไทยมีสภาพแวดล้อมเอื้ออำนวยต่อการเจริญงอกงามของ กล้วยไม้มาก และกล้วยไม้ป่าที่ในพบในภูมิภาคแถบนี้มีลักษณะเด่นที่เป็นเอกลักษณ์ของตนเอง แตกต่างจากกล้วยไม้ในภูมิภาคลาตินอเมริกา
การปลูกเลี้ยงกล้วยไม้ในประเทศไทย จากการสำรวจในอดีตพบว่าประเทศไทยเป็นประเทศที่มีกล้วยไม้อยู่ในป่าธรรมขาติ ไม่ต่ำกว่า 1,000 ชนิด ทั้งประเภทที่พบอยู่บนต้นไม้ บนพื้นผิวของภูเขาและบนพื้นดิน สรุปได้ว่าสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติของประเทศไทยเอื้ออำนวยแก่การเจริญงอกงาม ของกล้วยไม้เป็นอย่างมาก ในอดีตชาวชนบทของไทย โดยเฉพาะในแหล่งที่เคยมีกล้วยไม้ป่าอุดมสมบูรณ์ ได้นำกล้ายไม้ป่ามาปลูกเลี้ยงโดยเลียนแบบธรรมชาติ โดยนำกล้วยไม้มาปลูกไว้กับต้นไม้ที่ขึ้นอยู่ไกล้ๆ บ้านเรือน การเลี้ยงกล้วยไม้เริ่มเปลี่ยนมาเป็นการปลูกเลี้ยงอย่างจริงจังโดยชาวตะวัน ตกผู้หนึ่ง ที่เข้ามาทำธุรกิจในประเทศไทย เห็นว่าสภาพแวดล้อมของประเทศไทยเหมาะสมสำหรับการปลูกเลี้ยงกล้วยไม้ จึงได้สร้างเรือนกล้วยไม้อย่างง่ายๆ และนำเอากล้วยไม้ป่าจากเขตร้อนของอเมริกา ซึ่งเป็นแหล่งกำเนิดกล้วยไม้ป่าแหล่งใหญ่แหล่งหนึ่งของโลก ซึ่งมีลักษณะแตกต่างจากกล้วยไม้ในเอเชียและเอเซียแปซิฟิค โดยนำมาปลูกเลี้ยงเป็นงานอดิเรกในขณะเดียวกันก็มีเจ้านายชั้นสูงและบรรดา ข้าราชการที่ใกล้ชิด ให้ความสนใจเลี้ยงกล้วยไม้เป็นงานอดิเรกเช่นกัน นอกจากนั้นก็ยังมีกลุ่มบุคคลสูงอายุซึ่งเลี้ยงกล้วยไม้เพื่อความสุขทางใจ การปลูกเลี้ยงกล้วยไม้ อย่างไรก็ตามการปลูกเลี้ยงกล้วยไม้ยังคงจำกัดอยู่ในวงแคบ คือ ในกลุ่มผู้สูงอายุและกลุ่มผู้มีเงินในยุคนั้น และเป็นการปลูกเลี้ยงที่นิยมกล้วยไม้พันธุ์ต่างประเทศ ส่วนกล้วยไม้ที่มีถิ่นกำเนิดในป่าของประเทศไทยจะนิยมและยกย่องเฉพาะพันธุ์ ที่หายากและมีราคาแพง
หลังการเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองในปี 2475 สภาพการเลี้ยงก็ยังคงจำกัดอยู่ในวงแคบเช่นเดิม แต่ผลงานเกี่ยวกับการผสมพันธุ์กล้วยไม้ในต่างประเทศเริ่มมีอิทธิพลกระตุ้น ให้ผู้เกี่ยวข้องกับวงการกล้วยไม้ในประเทศไทยสนใจกล้วยไม้ลูกผสมมากขึ้น มีการสั่งกล้วยไม้ลูกผสมจากประเทศในทวีปยุโรป สิงคโปร์ และอินโดนีเซีย เพื่อนำเข้ามาปลูกเลี้ยงในประเทศไทย การพัฒนาการปลูกเลี้ยงกล้วยไม้ เป็นไปอย่างจริงจัง เมื่อประมาณปี 2493 โดยได้มีการวิจัย นับตั้งแต่การรวบรวมปลูกในระดับพื้นฐาน ต่อมาในปี 2497 ได้เริ่มเปิดการฝึกอบรมการเลี้ยงกล้วยไม้ให้แก่ประชาชนผู้สนใจทั่วไป และมีการจัดตั้งชมรมกล้วยไม้ขึ้นในปี 2498 ซึ่งต่อมาได้รับการสถาปนาเป็นสมาคมกล้วยไม้เมื่อปี 2500 และในปีเดียวกันนี้ ได้เริ่มมีการนำเอาความรู้ในเรื่องกล้วยไม้และแนวความคิดในการพัฒนาวงการ กล้วยไม้ออกเผยแพร่ทั้งทางโทรทัศน์และวิทยุ และมีการผลิตเอกสารสิ่งพิมพ์เผยแพร่ ทำให้วงการกล้วยไม้ของประเทศไทย ขยายตัวออกไปอย่างกว้างขวาง จนกระทั่งมีการจัดตั้งสมาคมและสโมสรเกี่ยวกับกล้วยไม้ขึ้นในภาคและจังหวัด ต่างๆ ในปี 2501 ได้มีการเปิดการสอนวิชากล้วยไม้ขึ้นในมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์เป็นครั้งแรก เพื่อผลิตนักวิชาการและพัฒนางานวิจัยกล้วยไม้ของประเทศ และเป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้การปลูกเลี้ยงกล้วยไม้ไม่ได้จำกัดอยู่ภายในวง แคบอีกต่อไป จากการส่งเสริมดังกล่าว ทำให้มีการนำเข้ากล้วยไม้ลูกผสมจากต่างประเทศ เช่น จากฮาวายและสิงคโปร์จำนวนมากยิ่งขึ้น ทำให้ผู้ที่มีความรู้หันมารวบรวมพันธุ์ผสมและเพาะพันธุ์จากพ่อแม่พันธุ์ใน ประเทศ ทั้งที่เป็นพ่อแม่พันธุ์จากป่า และลูกผสมที่สั่งเข้ามาแล้วในอดีต ปี 2506 วงการกล้วยไม้ของไทยได้เริ่มมีแผนในการขยายข่ายงานออกไปประสานกับวงการกล้วย ไม้สากล เพื่อยกระดับวงการกล้วยไม้ในประเทศให้ทัดเทียมกับต่างประเทศ ปี 2509 เริ่มการทำสวนกล้วยไม้ตัดดอกอย่างจริงจัง เมื่อไทยเริ่มส่งออกกล้วยไม้ไปสู่ตลาดต่างประเทศในยุโรปตะวันตก เช่น สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมัน เนเธอร์แลนด์ และอิตาลี ต่อมาจึงขยายตลาดไปสู่ประเทศญี่ปุ่น แคนาดา และบางรัฐของสหรัฐอเมริกา.

กล้วยไม้ในประเทศไทย
ประวัติการปลูก
การที่มีชาวตะวันตกนำกล้วยไม้จากแหล่งอื่นมาปลูกในกรุงเทพฯ จึงเป็นจุดเด่นซึ่งทำให้หลายคนนำเอามาใช้เป็นข้อมูลเพื่อเริ่มต้นการปลูกกล้วยไม้ภายในประเทศ โดยอ้างชื่อ นายเฮนรี่ อาลาบาสเตอร์ (Mr.Henry Alabaster) ร่วมกับกลุ่มบุคคลในราชวงศ์ระดับสูง ดังจะพบได้จากข้อเขียนในอดีต แทนที่จะลงถึงชาวบ้านซึ่งเป็นคนระดับพื้นดินที่นำเอากล้วยไม้พันธุ์ท้องถิ่นมาปลูก...ดังเช่นผู้ที่สนใจศึกษาหาความรู้เรื่องกล้วยไม้ที่มีอายุยาวนานพอสมควร คงจะจำได้ว่า ย้อนหลังไปประมาณ 40 ปีขณะที่ตลาดนัดต้นไม้ยังอยู่บริเวณริมคลองหลอด มีชาวบ้านเก็บกล้วยไม้บางชนิดจากป่านำมามัดกำวางขายทั่วไปและมีคนจีนมาซื้อไปต้มทำยาดื่ม ที่พบเห็นมากๆ ได้แก่ กล้วยไม้หวายพื้นบ้านเช่น เอื้องเก๊ากิ่ว เอื้องเงิน เอื้องผึ้ง และเอื้องคำเป็นต้น ช่วงหลังๆป่าเริ่มหมดไป ทำให้กล้วยไม้พวกนี้หมดตามไปด้วย แต่ปัจจุบันนี้คนจีนบนแผ่นดินใหญ่ของประเทศจีน ยังมีการลำเลียงกล้วยไม้จากธรรมชาติในประเทศเวียดนามและบริเวณใกล้เคียงโดยรถบรรทุก นำเข้าไปในประเทศ เพื่อใช้ทำยาอย่างต่อเนื่องกัน
ศาสตราจารย์ระพี สาคริกเคยรับฟังรายงานการค้นคว้าจากที่ประชุมวิชาการในต่างประเทศ ทราบว่าฝรั่งได้มีผลงานการค้นคว้าวิจัยเกี่ยวกับพืชสมุนไพรจากกล้วยไม้ จากที่ประชุมวิชาการที่เมืองดาร์วิน ประเทศออสเตรเลีย เป็นต้น
หลังจากนั้นมา กล้วยไม้ก็ถูกใช้เป็นเครื่องมือ เพื่อยกย่องคนมีเงินและชนชั้นสูง ประกอบกับรากฐานคนส่วนใหญ่ยึดติดอยู่กับรูปวัตถุ ทำให้มีการมองคนในกลุ่มที่นำกล้วยไม้มาปลูกแล้วรู้สึกว่า เป็นการทำลายเศรษฐกิจ
ปัญหาการปลูกกล้วยไม้
ปัญหาสำคัญอย่างหนึ่งซึ่งแฝงเป็นเงื่อนไขอยู่ในพื้นฐานสังคมลักษณะนี้คือ ทุกเรื่องที่ได้รับผลดีจากการพัฒนามีเหตุมีผลผูกพันอยู่กับตัวบุคคล ทำให้ขาดการสืบทอดสู่คนรุ่นหลังซึ่งควรเป็นไปอย่างมีเหตุมีผล แต่จะมีผู้ตามเป็นส่วนใหญ่
ผลกระทบจากปัญหาที่ได้กล่าวไว้แล้วมีผลทำให้ ศ.ระพี สาคริกเกิดแรงดลใจลุกขึ้นมาพัฒนา ค้นคว้า วิจัย เรื่องกล้วยไม้ที่เชื่อมโยงถึงงานส่งเสริมเผยแพร่ความรู้ ซึ่งในที่สุดได้ทำให้เกิดสภาพที่กล่าวกันว่า ผสมผสานกันเป็นธรรมชาติ ได้เริ่มตันมีการวางแผนและดำเนินการโดยมีเป้าหมายอย่างเด่นชัด หลังจากปี พ.ศ. 2490 ซึ่งศอ.ระพี สาคริกในตอนนั้นได้ผ่านการศึกษาจากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ออกมาแล้ว